วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

เครือข่าย 5G

 เครือข่าย 5G


5G คืออะไร? เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายน้องใหม่




ช่วงนี้ใครหลายๆคนอาจได้ยินคำว่า 5G กันมาบ้าง แล้ว 5G คืออะไร? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน 5G คือ Generation ใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันจะไม่จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT)


ก่อนจะไปถึง 5G ลองมาไล่เลียงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายในแต่ละยุคกัน

  1. เริ่มจากในยุคแรก 1G เราพูดคุยกันด้วยเสียงผ่านมือถือระบบอนาล็อก 
  2. ต่อมาเราเริ่มส่งข้อความ MMS หากันในยุค 2G
  3. จนกระทั่งถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ เมื่อเข้าสู่ยุค 3G เราสามารถเชื่อมต่อและเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น (อยู่ระหว่าง 220 Kbps ถึง 42.2 Mbps) 
  4. จนเข้ามาถึงยุค 4G เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps)
       ตอนนี้คุณพร้อมหรือยัง? ที่จะก้าวเข้าสู่ยุค 5G






5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?

  • ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที เนื่องจากมีความหน่วงที่ต่ำ ตอบสนองได้ไวถึง 1 ส่วนพันวินาที
  • รองรับการ รับ-ส่ง ข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • เร็วแรงกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 20 เท่า ซึ่งเร็วมากพอที่จะดูวิดีโอ 8K ออนไลน์แบบ 3 มิติ หรือดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
  • ความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า 5G จะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
  • รองรับการใช้งานที่มากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.









เหตุผลที่เลือก เทคโนโลยีเครือข่าย 5G

       ในปัจจุบันนี้เครือข่าย 5G ยังไม่ค่อยครอบคลุมไปทั่วประเทศ มีเฉพาะพื้นที่ส่วนกลางหรือจุดศูนย์กลางเท่านั้น และในเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงได้
ถ้าไม่ใช่มือถือที่เป็นรุ่นไหม หรือตัว Top ผมจึงมีความสนใจในตัวของอินเตอร์เน็ต 5G เป็นอย่างมากว่าเมื่อไหร่ถึงจะใช้ได้ทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถใช้ได้แล้วน่าจะทำให้สะดวกสบายมากขึ้นมากๆ





ประโยชน์ของ 5G

 สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต





อ้างอิง

https://www.uih.co.th/th/knowledge/5g

https://www.marketingoops.com/reports/understand-what-is-5g/

https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/701-5g





เทคโนโลยีโลกเสมือน VR/AR/MR


เทคโนโลยีโลกเสมือน VR/AR/MR



เทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริง
Virtual Reality (VR) , Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR)


        ในช่วงนี้ Interface Technology ดูจะมาแรงและน่าจับตามองมากๆ ประกอบกับแรงผลักดันในเชิงการตลาดในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า Interface Technology เริ่มต้นจากการใช้งาน กูเกิลกลาส (Google Glass) ซึ่งเป็น Interface รุ่นแรกๆ ที่รวบรวมแว่นตา, อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา , หูฟัง และอุปกรณ์ติดตามความเคลื่อนไหวของสายตามนุษย์ ให้กลายเป็นอุปกรณ์ “อัจฉริยะ” และนำไปสู่การเชื่อมต่อดวงตาและการมองเห็นกับอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งหลายได้

          ในปัจจุบัน Interface Technology ได้ถูกนำมาผสานร่วมกับเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) เพื่อสร้าง Content เสมือนที่มีความน่าตื่นเต้นและสมจริงมากยิ่งขึ้น โดยแนวโน้มของเทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความเป็นจริง ประกอบด้วย ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality, VR) , ความเป็นจริงเสริม (augmented reality, AR)  และความจริงผสม (mixed reality, MR) ที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างมนุษย์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้


Augmented reality หรือ AR

          การรวมสภาพแวดล้อมจริง กับ วัตถุเสมือน เข้าด้วยกันในเวลาเดียวกัน โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ, วิดิโอ, เสียง, ข้อมูลต่างๆที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์, มือถือ, เทปเล็ต, หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ ตัวอย่างของการใช้งาน AR ก็คือ เกม Pokemon Go ถือเป็นปรากฎการณ์ครั้งสำคัญของนักเล่นเกมทั่วโลก





ภาพจาก https://www.online-station.net/




Virtual reality หรือ VR


          เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงเข้าไปให้เสมือนจริง โดยผ่านการรับรู้จากการมองเห็น เสียง สัมผัส แม้กระทั้งกลิ่น โดยจะตัดขาดเราออกจากสภาพแวดล้อมปัจจุบันเพื่อเข้าไปสู่ภาพที่จำลองขึ้นมาตัวอย่างเช่น การจำลองสถานที่ Google Street View , การแข่งขันบังคับเครื่องบิน Drone Racing เป็นต้น



ภาพจาก http://www.dootvmedia.com





Mixed Reality หรือ MR


           MR เป็นการนำเอาโลกแห่งความเป็นจริงและองค์ประกอบดิจิตอลมารวมกัน Mixed Reality นั้น เราจะได้โต้ตอบกับสิ่งของและสภาพแวดล้อมทั้งในโลกแห่งความเป็นจริงและเสมือนโดยใช้เทคโนโลยีการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ Mixed Reality ช่วยให้เราได้เห็นและสัมผัสกับโลกรอบตัว แม้ในขณะที่โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมเสมือนด้วยมือของเราเองโดยที่ไม่ต้องถอดแว่น เทคโนโลยีนี้ช่วยให้สามารถวางเท้า (หรือมือ) ข้างหนึ่งไว้ในโลกแห่งความเป็นจริง และวางอีกข้างหนึ่งไว้ในโลกเสมือน เป็นการทลายแนวคิดพื้นฐานระหว่างความจริงและจินตนาการที่ให้ประสบการณ์ที่สามารถเปลี่ยนวิธีที่คุณเล่นเกมและทำงานในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างการใช้งาน MR เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ พัฒนา “MR Sales Gallery” ห้องตัวอย่างเสมือนจริงที่จำลองสภาพแวดล้อมให้ลูกค้าได้สัมผัสบรรยากาศของโครงการที่พักอาศัยได้แบบอินเทอร์แอ็คทีฟ








อธิบายโดยสรุป เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีกลุ่มนี้ สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์ไม่ว่าเป็นด้านความบันเทิง การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เลยทีเดียว   สรุปเทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) ดังภาพด้านล่างนี้





ภาพจาก https://img.online-station.net/_content/2018/1004/gallery/1538651339.jpg








อ้างอิง

  • บทความเว็บ APPLE (https://www.apple.com/ios/augmented-reality/)
  • คลังความรู้ SciMath (http://www.scimath.org/article/item/4818-virtual-reality)
  • เว็บ Good Media Co.,Ltd. (https://goo.gl/BhZL4v)
  • https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/675-interface-technology-vr-ar-mr?             fbclid=IwAR3efXaH6CZ4uSQaELnmqUof5H6Tf1J8iE8OtZHGM88aHWOoVzFOE2_PSow

  • ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

     ปัญญาประดิษฐ์ (AI)


     


     https://mgronline.com/mutualfund/detail/9610000060409



               ปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียน แบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการ ให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม


    1. การกระทำคล้ายมนุษย์ (Acting Humanly) เช่น – สื่อสารกับ มนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่าง หนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให – มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor) – หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ – คอมพิวเตอร์(machine learning) หรือเกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ 

    2. การคิดคล้ายมนุษย์ (Thinking Humanly)  ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาโครงสร้างสามมิติของเซลล์สมอง การแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมอง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกายระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร 

    3. การคิดอย่างมี เหตุผล หรือคิดถูกต้อง (Thinking rationally) โดยใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ 

    4. กระทำอย่างมีเหตุผล (Acting rationally) เช่น  ระบบขับรถอัตโนมัติที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่ สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้



    AI ในระดับของสติปัญญาต่างๆ


    มีการแบ่งหรือจำแนก AI ออกมาเป็นหลายๆแบบ ตามคุณลักษณะต่างๆของ แต่การแบ่ง AI ตามระดับความสามารถและสติปัญญาดูจะเข้าใจง่ายและใช้กันแพร่หลาย ซึ่งมีการจำแนกออกเป็น 3 ระดับดังนี้ 

    1.Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรืออาจจะเรียกว่า Weak AI ซึ่งเป็น AI “ปัญญาประดิษฐ์” :ซึ่งมีระดับระดับสติปัญญาที่มีความสามารถในการทำงานได้ในเรื่องแคบๆอยู่ในวงจำกัด เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นในปี 1997 IBM สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเอาชนะแชมป์หมากรุกได้ ในยุคปัจจุบัน Google สามารถสร้างรถยนต์ไร้คนขับได้ SIRI ของแอปเปิ้ลสามารถสื่อสารพูดคุยกับคนได้ นั่นก็สามารถทำได้เพียงแต่แค่นั้น มันยังคงไม่มีความสามารถ และมีสติปัญญาคิดไปทำอย่างอื่นในขอบเขตที่กว้างไกลใกล้เคียงมนุษย์ได้

    2.Artificial General Intelligence (AGI) อาจเรียกว่า Strong AI ซึ่งเป็นสติปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ เป็น AI ปัญญาประดิษฐ์ ที่ความสามารถในการทำงานได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถสร้าง AGI ได้ แต่ศาสตราจารย์Linda Gottfredson ได้อธิบายว่า AGI ปัญญาประดิษฐ์ในระดับนี้เป็นความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับจิตใจความนึกคิดมากกว่าอย่างอื่น โดยจะเกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการเรียนรู้ วางแผน การแก้ปัญหา รู้จักคิดในเชิงนามธรรม มีความคิดที่สลับซับซ้อน เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้จากประสบการณ์ โดยปัญญาประดิษฐ์ในระดับ AGI จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายเหมือนกับที่มนุษย์ทำได้

    3.Artificial Superintelligence (ASI) เราอาจเรียก ASI ซุปเปอร์ปัญญาประดิษฐ์ มีปัญญาเหนือมนุษย์Nick Bostrom จากออกฟอร์ดซึ่งเป็นนักปรัชญาและผู้นำด้านความคิดด้าน AI ให้คำจำกัดความของ ASI ว่ามันจะฉลาดและมีปัญญามากกว่าสมองมนุษย์ที่ดีที่สุดในทุกๆด้าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ เรื่องทั่วๆไป แม้กระทั่งความสามารถในการเข้าสังคม






    แหล่งข้อมูลจาก 

    https://sites.google.com/site/pattyloveloveit53/ngan-ni-hxngreiyn/artificial-intelligemce-ai 

    ข้อมูลจากเว็ปไซด์ นางสาวมะลิวัลย์ ฉุนหอม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคลพบุรีแผนกวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ https://sites.google.com/site/pattyloveloveit53/

    http://www.theworks.co.th/blog/2018/12/11/artificial-intelligence/

    https://ecloudtec.com/aivision-1/

    อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IOT)

       อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IOT) 


               https://www.flexwareinnovation.com/wp-content/uploads/2017/08/iot-internet-of-things-principles.jpg


    IoT หรือ Internet of Things (อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) หมายถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ซึ่งวัตถุสิ่งของเหล่านี้ สามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ อีกทั้ง สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกล ผ่านโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟนเท่านั้น แต่ IoT สามารถประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ทุกอย่างที่ถูกออกแบบมาให้เชื่อมโยงกันได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อที่จะสามารถสื่อสารกันได้


    สรรพสิ่ง (Things) 

    ในความหมายของ IoT "สรรพสิ่ง" หมายถึง อุปกรณ์ สิ่งของเครื่องใช้ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น เครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงาน รถยนต์ สกู๊ตเตอร์ จักรยานที่มีเซ็นเซอร์ในตัว เครื่องใช้ภายในบ้าน กล้องอัจฉริยะ นาฬิกาเด็ก อุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ แท็กไบโอชิปที่ติดกับปศุสัตว์ อุปกรณ์วิเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร หรืออุปกรณ์ภาคสนามของนักผจญเพลิงในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ และอื่น ๆ ซึ่งไม่เว้นแม้ เสียงพูดสั่งงานของมนุษย์

     การประยุกต์ใช้งาน IoT (Internet of Things)

    ในปัจจุบัน ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้นำ IoT ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างรายได้ โอกาส และความสะดวกสบายยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น


    Smart Industry เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0 

    Smart City เพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับโครงสร้างพื้นฐาน และระบบต่าง ๆ ของเมืองใน 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ โดยพัฒนา IoT เพื่อตอบสนอง และอำนวยความสะดวกในแต่ละด้านของเมือง อาทิ 

    Smart Living เมืองน่าอยู่ 

    Smart Governance เมืองที่บริหารจัดการโปร่งใส 

    Smart Mobility เมืองที่สามารถติดต่อสื่อสารและเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย 

    Smart People เมืองที่ให้ความเท่าเทียมกันในสังคม 

    Smart Safety เมืองปลอดภัย 

    Smart Economy เมืองที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ 

    Smart Environment เมืองประหยัดพลังงาน 

    Smart Tourism เมืองท่องเที่ยว 

    Smart Farming เมืองเกษตรกรรมทันสมัย 


    Smart Life เพื่อให้รูปแบบของการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไปจากเดิม มนุษย์สามารถพูดคุยกับสิ่งของได้สิ่งของสามารถพูดคุยและรับรู้พฤติกรรมของมนุษย์ได้ ซึ่งในอนาคตเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาให้สิ่งของสามารถพูดคุยกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านมนุษย์ 

    จะเห็นได้ว่า Internet of Things (IoT) เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตภายในบ้าน หรือที่ทำงาน หรือระหว่างการเดินทาง  IoT จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนการทำงาน และทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น 

    แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี IoT ที่เชื่อมโยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ก็อาจมีผลก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภัยคุกคามตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงองค์กรมากขึ้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีเป็นประเด็นที่ทุกคนให้ความสำคัญ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในยุคดิจิทัล



    อ้างอิง

    • บทความสาธารณะ Wikipedia https://th.wikipedia.org/wiki/อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
    • https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/655--iot-กำลังจะเปลี่ยนโลก
    • การประมวลผลแบบระบบคลาวด์

      การประมวลผลแบบระบบคลาวด์




        การประมวลผลบนระบบคลาวด์คืออะไร 

      การประมวลผลบนระบบคลาวด์คือการให้บริการทรัพยากรด้านไอทีตามการกำหนดราคาค่าบริการที่ใช้ตามจริง คุณสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยี เช่น พลังงานในการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และฐานข้อมูลได้ตามความต้องการจากผู้ให้บริการระบบคลาวด์เช่น Amazon Web Services (AWS) แทนการซื้อ การเป็นเจ้าของ รวมถึงการดูแลรักษาศูนย์ข้อมูลจริงและเซิร์ฟเวอร์



        ผู้ใช้งานการประมวลผลบนระบบคลาวด์คือใคร


                                     https://mgronline.com/mutualfund/detail/9630000069058

      องค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกภาคอุตสาหกรรมใช้ระบบคลาวด์ในกรณีการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การสำรองข้อมูล, การกู้คืนข้อมูลหลังภัยพิบัติ, อีเมล, เดสก์ท็อปแบบเสมือน, การพัฒนาและการทดสอบซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์ Big Data และการปรับใช้เว็บไซต์สำหรับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น บริษัทด้านการดูแลสุขภาพใช้ระบบคลาวด์เพื่อพัฒนาการรักษาที่ปรับแต่งสำหรับผู้ป่วย บริษัทบริการทางการเงินใช้ระบบคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนการตรวจจับและการป้องกันการฉ้อโกงแบบเรียลไทม์ และผู้ผลิตวิดีโอเกมใช้ระบบคลาวด์เพื่อส่งเกมออนไลน์ไปยังผู้เล่นทั่วโลกนับล้านคน



        ประโยชน์ของการประมวลผลบนระบบคลาวด์


             ความคล่องตัว ระบบคลาวด์ช่วยให้คุณเข้าถึงความหลากหลายของเทคโนโลยี ซึ่งช่วยให้คุณสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและสร้างงานได้แทบทุกอย่างตามจินตนาการ คุณสามารถหมุนเวียนทรัพยากรจากบริการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และฐานข้อมูล ไปยังอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง, Machine Learning, Data Lake รวมถึงการวิเคราะห์ และอีกมากมายได้รวดเร็วอย่างที่คุณต้องการ คุณสามารถปรับใช้บริการเทคโนโลยีได้ภายในไม่กี่นาที และนำแนวคิดมาทำให้ลำดับต่างๆ ของขนาดเป็นจริงได้เร็วยิ่งขึ้น โดยสิ่งนี้จะให้อิสระในการทดลอง ทดสอบแนวคิดใหม่เพื่อทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าแตกต่าง และเปลี่ยนโฉมธุรกิจของคุณ



        ประเภทของการประมวลผลบนระบบคลาวด์


             การประมวลผลบนระบบคลาวด์สามประเภทหลักประกอบด้วยบริการ การให้บริการแพลตฟอร์ม และการให้บริการซอฟต์แวร์ แต่ละประเภทของการประมวลผลบนระบบคลาวด์จะมอบการควบคุม ความยืดหยุ่น และการจัดการในระดับที่แตกต่างกันที่คุณสามารถคัดสรรได้ว่าบริการชุดใดที่เหมาะกับความต้องการของคุณ


         การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS)

         IaaS ประกอบด้วยการสร้างบล็อกพื้นฐานสำหรับงานไอที ซึ่งโดยทั่วไปจะมอบสิทธิ์การเข้าถึงคุณสมบัติเครือข่าย คอมพิวเตอร์ (เสมือนจริงหรือบนฮาร์ดแวร์เฉพาะ) และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล laaS มอบความยืดหยุ่นและการควบคุมจัดการทรัพยากรด้านไอทีในระดับสูงสุดให้แก่คุณ โดยมีความคล้ายคลึงกับทรัพยากรไอทีที่มีอยู่ซึ่งแผนกไอทีและนักพัฒนาคุ้นเคยใน                                                      ปัจจุบัน




        การให้บริการแพลตฟอร์ม (PaaS)

           PaaS ช่วยลดความต้องการในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร (โดย ทั่วไปหมายถึงฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ) และช่วยให้คุณมุ่งเน้นไปที่การปรับใช้และการจัดการแอปพลิเคชันของคุณ สิ่งนี้ช่วยให้คุณมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นเนื่องจากคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการจัดซื้อทรัพยากร การวางแผนขีดความสามารถ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ การแพตช์ หรืองานที่                                              ยากและซับซ้อนอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแอปพลิเคชัน






       
       การให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS)
       
      SaaS มอบผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ซึ่งทำงานและได้รับการจัดการโดยผู้ให้บริการ ในกรณีส่วนใหญ่ ผู้คนมักพูดถึง SaaS ในฐานะแอปพลิชันของผู้ใช้ปลายทาง (เช่น เว็บเมล) ด้วยข้อเสนอของ SaaS คุณไม่จำเป็นต้องคิดถึงวิธีการดูแลรักษาบริการหรือการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน คุณเพียงแค่ต้องคิดถึงวิธีที่คุณจะใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ






      อ้างอิง

      https://aws.amazon.com/th/what-is-cloud-computing/

      https://itchronicles.com/wp-content/uploads/2020/07/iaas-in-cloud-computing-1024x787.png

      https://www.avesta.co.th/wp-content/uploads/2019/04/Software-as-a-service-SaaS.png

      https://www.it-vault.com/wp-content/uploads/2018/09/maas-paas.png


      เครือข่าย 5G

        เครือข่าย 5G 5G คืออะไร? เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายน้องใหม่ ช่วงนี้ใครหลายๆคนอาจได้ยินคำว่า 5G กันมาบ้าง แล้ว 5G คืออะไร? วันนี้เราจะมาหาคำตอบ...